1. เมนบอร์ดคืออะไร

2. ความเป็นมาของเมนบอร์ด
พัฒนาการของเมนบอร์ดมีมาตั้งแต่ครั้งไอบีเอ็มออกแบบพีซีในปี
2524
โดยพัฒนาขนาดรูปร่างของเมนบอร์ดมาใช้กับเครื่องรุ่นพีซี
และต่อมายังพัฒนาใช้กับรุ่นเอ็กซ์ที ครั้งถึงรุ่นเอที ก็ได้หาทางสร้างขนาดของเมนบอร์ดให้มีมาตรฐานขึัน โดยเฉพาะเครื่องที่พัฒนาต่อมาจะใช้ขนาดของเมนบอร์ดเอทีเป็
นหลัก
จนเมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามามาก
สิ่งที่ต้องคํานึงถึงในเมนบอร์ดยิ่งมีความสําคัญ
จนกระทั่งถึงประมาณปี พ.ศ. 2538 หรือขณะนั้นพีซีกําลังก้าวสู่รุ่นเพนเตียม
บริษัทอินเทลได้เสนอขนาดของเมนบอร์ดแบบมาตรฐานและเรียกว่า ATX ซึ่งใช้งานกันจนถึงทุกวันนี้
จากขนาดของ ATX ก็มีพัฒนาการต่อเพื่อทําเครื่องให้มีขนาดกระทัดรัดขึ้น
โดยลดขนาดของเมนบอร์ดลงและเรียกว่า microATX และลดลงอีกในรูปแบบที่ชื่อ FlexATX
2.1 เมนบอร์ดแบบ ATX
ลักษณะสําคัญของ
ATX เมนบอร์ด ATX มีขนาด 12 นิ้ว x 9.6 นิ้ว เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สามารถถอดใส่เปลี่ยนกันได้
และเพื่อให้เมนบอร์ดถอดเปลี่ยนกันได้
การออกแบบเมนบอร์ดจึงต้องคํานึงถึงขนาดและตําแหน่งของรูที่ยึดติดกันแท่น
และการวางลงในตําแหน่งตัวเครื่อง (กล่อง) ได้อย่างพอดี ขนาดของ ATX ได้รับการออกแบบมาเพื่อมีขนาดพอเหมาะที่จะใส่ของที่สําคัญและจําเป็
นได้ครบ ตั้งแต่ซีพียู
สลอดขยายระบบ การจัดวางอุปกรณ์ต้องให้ตําแหน่งได้ลงตัวและไม่ยุ่งยากในเรื่องสายเคเบิ้ลที่จะเชื่อมบนบอร์ด
ความคล่องตัวของการใส่อุปกรณ์ลงในสล็อต
ใส่ซีพียู ติดพัดลม และมีช่องขยายพอร์ต มีพอร์ตที่จําเป็ นพร้อมขยายเพิ่มได้ เช่น
พอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน พอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ พอร์ต USB พอร์ต TV in/out
ใส่อุปกรณ์ต่าง
ๆ ลงไปบนบอร์ด เช่น พัดลม บนบอร์ดรับสายเชื่อมรองกับแหล่งจ่ายไฟเลี่ยง ซึ่งปัจจุบันใช้มาตรฐาน
+ - 5 โวลต์ + - 12 โวลต์ และ 3.3 โวลต์ อีกทั่งระยะห่างจะต้องเหมาะสมเพื่อการประกอบได้ง่าย
2.2 เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
เป็นบอร์ดแบบ microATX เป็
นเมนบอร์ดที่ลดขนาดลงโดยมีขนาดเพียง
9.6 นิ้ว คูณ 9.6 นิ้ว
จุดประสงค์คือ ต้องการให้ตัวกล่องบรรจุมีขนาดเล็กลง แต่จากที่ขนาดเล็กลงจําเป็
นต้องลดพื้นที่ในส่วนของจํานวนสล็อตต่าง
ๆ ทําให้เครื่องที่ใช้เมนบอร์ด
แบบ microATX มีขีดความสามารถในการขยายระบบได้จํากัด
และในปี พ.ศ. 2542
อินเทอลได้พัฒนารุ่นเมนบอร์ดใหม่ที่มีขนาดเล็กลงไปอีก โดยใช้ชื่อรุ่นว่า FlexATX โดยมีขนาดเมนบอร์ดเพียง
9 นิ้ว คูณ 7.5 นิ้ว เพื่อให้ขนาดเครื่องพีซีมีขนาดเล็กลงไปอีก
3. ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

3. ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย
1. ซ็อกเก็ตซีพียู
(CPU
Socket)
2. ชิปเซต (Chipset)
3. ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)
4.
สล็อตของการ์ดจอ
(Graphic
Card Slot)
5.
สล็อต PCI (PCI
Slot)
6.
หัวต่อไดรว์ต่างๆ
7.
หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ
8.
ชิปรอมไบออส
(ROM
BIOS)
9.
หัวต่อสายสวิตช์ควบคุม
10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
4. ชิปเซต

5. สล็อต
เป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น การ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามองไปบนเมนบอร์ดจะเห็นเป็นช่องเสียบการ์ด
ที่มีทั้งสี ขาว ดำ น้ำตาล ซึ่งเราเรียกช่องเสียบอุปกรณ์เหล่านี้ว่า I/O Expansion Slot
เราสามารถแบ่งชนิดของสล็อตได้จากสีดังนี้
5.1 สล็อตสีขาว หรือ PCI Slot
5.2 สล็อตสีดำ หรือ ISA Slot
สำหรับสล็อตแบบนี้
มีการส่งข้อมูลครั้งละ 16 บิต มีลักษณะสีดำ
รูปร่างของสล็อตจะมีขนาดที่ยาวกว่าสล็อต PCI เล็กน้อย
ซึ่งปัจจุบันเราแทบไม่ค่อยได้พบเห็นสล็อต ISA ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ
แล้ว ทั้งนี้เพราะการ์ดที่ออมมามักจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI กันหมดแล้ว
5.3 สล็อตสีน้ำตาล หรือ AGP Slot
สล็อต AGP มีความเร็วในการทำงานเป็น
66 เมกะเฮิรตซ์ 32 บิต
และสนับสนุนเทคโนโลยี AGP2x ที่ใช้ช่วงแบนด์วิดธ์ในการรับ-ส่งข้อมูลได้มากถึง 2.1กิกะไบต์ต่อวินาที สำหรับสล็อต AGPจะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point
ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูล ระหว่างการ์ดแสดงผลกับชิปเซ็ตของระบบทำได้เร็วขึ้น
และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render
ภาพ แบบสามมิติ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
6. การเลือกใช้งานเมนบอร์ด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้งานเมนบอร์ดมีดังนี้
6.1 การรับประกัน
เมนบอร์ดถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้น
6.2 ยี่ห้อ
มาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย
เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม
รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด
หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว
อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า
ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน
คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ
บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ
ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับ
ยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน
2 ระดับ
คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus,
MSI, GIGABYTE, DFI, Abit, BIOSTAR, ASRock, ECS และอีกหลายๆ ยี่ห้อ
ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อเดี๋ยวนี้ก็มีการปรับภาพลักษณ์และคุณภาพของเมนบอร์ดให้เพิ่มขึ้นกันอย่างมากมาย
อย่างไรก็ตาม เมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อก็จะมีการผลิตเมนบอร์ดออกมาหลายรุ่น
หลายระดับราคา เพื่อรองรับกับความต้องการและงบประมาณของผู้บริโภคที่มีอยู่
ดังนั้นการเลือกซื้อเมนบอร์ดบางครั้งเราไม่จำเป็นต้องดูที่ยี่ห้ออยู่เสมอไปว่ายี่ห้อนี้มีแต่ของดีราคาแพง
หรือยี่ห้อนี้มีแต่ของแย่ราคาถูก ซึ่งตรงนี้ผู้ซื้อควรจะพิจารณาให้ดีก่อน
อย่าเพิ่งไปเชื่อข้อมูลเก่าๆ ที่เค้าว่ากันมา
6.3 หน่วยความจำ
สำหรับผู้ที่ต้องการความแรงในการเล่นเกม โดยใช้กราฟิกการ์ดจำนวนสองการ์ดขึ้นไปมาทำงานร่วมกัน คุณก็คงต้องมองหาเมนบอร์ดที่รองรับเทคโนโลยี SLI กับ CrossFire ด้วย สำหรับรายละเอียดเรื่องนี้อ่านได้จากบทความเปรียบเทียบการทำงาน SLI กับ CrossFire เพราะทั้งสองเทคโนโลยีมีอะไรแตกต่างไปจากเดิมมากพอสมควร
7. พาวเวอร์ซัพพลาย
6.3 หน่วยความจำ
ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDR3 ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDR3 จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR2 ได้ครับ แต่ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นเหมือนกันที่มีการออกแบบให้ใช้หน่วยความจำแบบ DDR2 หรือ DDR3 ก็ได้ แต่ต้องเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ ชิปเซตส่วนใหญ่ที่ผลิตมารองรับซีพียูของอินเทลมักจะรองรับการทำงานของหน่วยความจำแบบ Dual-Channel อยู่แล้ว แต่ก็มีชิปเซตจาก nVIDIA บางรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในเมนบอร์ดที่เน้นงานเบาๆ อย่างดูหนังฟังเพลง ก็จะออกแบบมาให้ทำงานกับหน่วยความจำแบบ Single Channel เท่านั้น ส่วนผู้ที่ใช้ซีพียูเอเอ็มดีในตอนนี้จะถูกจำกัดให้ใช้งานอยู่เพียงแค่ DDR2 เท่านั้น และรองรับทำงานแบบ Dual Channel ได้ด้วย สำหรับผู้ใช้เอเอ็มดีต้องรอซีพียูรุ่นใหม่ในปี 2009 ซีพียูของ AMD จึงจะรองรับ DDR3 Dual Channel ได้
6.4 กราฟิกการ์ด
6.4 กราฟิกการ์ด
สำหรับเมนบอร์ดที่ไม่ได้มีการติดตั้งชิปกราฟิกมาให้ เราก็จะเป็นที่จะต้องหากราฟิกการ์ดมาติดตั้งเองโดยในปัจจุบัน กราฟิกการ์ดจะผลิตมาอยู่บนมาตรฐาน PCI-Express X16 ซึ่งเป็นสล๊อตแบบใหม่ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า และในปัจจุบันการ์ดแบบ PCI-Express X16 ก็มีมีการพัฒนาไปถึงเวอร์ชัน 2.0 แล้ว แต่ว่ามันก็มีความเข้ากันได้ของ PCIe-x16 เวอร์ชันแรก กับ PCIe-x16 เวอร์ชัน 2 จะแตกต่างกันก็ตรงที่เวอร์ชัน 2.0 จะมีช่องทางการรับส่งข้อมูลที่กว้างกว่า ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า
แม้ว่าเมนบอร์ดในปัจจุบันจะไม่มีอินเทอร์เฟซที่ใช้ติดตั้งกราฟิกการ์ดรุ่นเก่าอย่าง AGP 8X แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากฐานผู้ใช้เมนบอร์ดเดิมที่มีกราฟิกการ์ดแบบ AGP 8X ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ยังมีการผลิตกราฟิกการ์ดสำหรับ AGP 8X ออกมาอีกเป็นระยะๆ ซี่งกราฟิกชิปที่ใช้ก็ยังเป็นรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับ DirectX 10 อีกด้วย
7. พาวเวอร์ซัพพลาย

ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่
400 วัตต์ขึ้นไป
ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย)
โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0
A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ
รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย
โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน
แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน
(แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย
โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างรายละเอียดจากเพาเวอร์ซัพพลายยี่ห้อ Enermax ตะกูล Coolergiant รุ่น EG701AX-VH(W) ที่ให้กำลังไฟโดยรวมประมาณ 600 วัตต์ (Watt) ซึ่งมีข้อมูลต่างๆดังนี้
- แรงดันไฟ(DC
Output) +3.3V ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ เม็นบอร์ด และการ์ดจอ เป็นหลัก
- แรงดันไฟ(DC Output)+5V
ปริมาณกระแสไฟ (Current Output) 34 A ใช้กับ
เม็นบอร์ด, แรม และอุปกรดิสก์ไดร์รวมถึงพอร์ต ต่างๆ
- แรงดันไฟ(DC
Output)+12V1และ +12V2 ปริมารกระแสไป (Current
Output) 18A ใชั้กับ ซีพียู, เม็นบอร์ด,
มอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงระบบระบายความร้อนต่างๆ
ในที่นี้มาให้ 2 ชุด
- แรงดันไฟ(DC
Output) -12V ปริมารกระแสไฟ (Current Output) 0.8 A ใช้ร่วมกับไฟ +12V เพื่อจ่ายให้กับอุปกรร์ต่างๆ
- แรงดัน(DC
Output) +5VSB ปริมารกระแสไฟ(Current Output) 2.5 A เป็นแรงดันไฟสำรอง (Standby Voltage) ที่ใช้เปิดหรือปลุกการทำงานของเครื่องให้ตื่นขึ้นจากสภาวะเตรียมพร้อม
(Stanby)