วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 5 ฮาร์ดดิสก์

1. ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk drive) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

2. การทำงานของฮาร์ดดิสก์
           2.1 หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลยเพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
2.2 สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
  2.3 สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
2.4  แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อ
วินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 30000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2.5 ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
  2.6 เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 500 จิกะไบต์ ถึง 40 เทระไบต์[ต้องการอ้างอิง] ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (แอสกี ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ และเสียง) โดยที่ไบต์จำนวนมากมายรวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมาผ่านไปยังตัวประมวลผลเพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
2.7 เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทาง
2.8 อัตราการส่งผ่านข้อมูล (Data rate) คือ จำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 400 เมกะไบต์ต่อวินาที[ต้องการอ้างอิง]
2.9 เวลาค้นหา (Seek time) คือ หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่างๆ ในจานแม่เหล็ก โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งมักขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์

3. การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น



4. การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
     การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีลักษณะเดียวกับแผนที่ ข้อมูลจะถูกจักเก็บไว้ในแทร็คบนแพล็ตเตอร์ ดิสก์ไดร์ฟทั่ว ๆ ไปจะมีแทร็คประมาณ 2,000 แทร็คต่อนิ้ว (TPI) Cylinder จะหมายถึงกลุ่มของ Track ที่อยู่ บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุก ๆ แพล็ตเตอร์ ในการเข้าอ่านข้อมูลนั้นแต่ละแทร็คจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector กระบวนการในการจัดการดิสก์ ให้มีแทร็ค และเซกเตอร์เรียกว่า การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ ในปัจบันส่วนใหญ่จะได้รับการฟอร์แมตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติ เซกเตอร์ จะมีขนาด เท่ากับ 512 ไบต์ คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่ได้รับการฟอร์แมตนี้ เหมือนกับที่นักท่องเที่ยวใช้แผนที่ ในการเดินทาง คือใช้ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดบนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นหากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้รับการฟอร์แมต เครื่องคอมพิวเตอร์ จะก็ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ใด และจะนำข้อมูลมาได้จากที่ไหนในการออกแบบฮาร์ดดิสก์ แบบเก่านั้นจำนวน เซกเตอร์ต่อแทร็กจะถูกกำหนดตายตัว เนื่องจากพื้นที่แทร็คบริเวณขอบนอกนั้นมีขนาด ใหญ่กว่าบริเวณขอบใน ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นพื้นที่สิ้นเปลืองของแทร็คด้านนอกจึงมีมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ได้มีการใช้เทคนิคการฟอร์แมต รูปแบบใหม่ที่ เรียกว่า Multiple Zone Recording เพื่อบีบข้อมูลได้มากขึ้น ในการนำมาจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ได้ Multiple Zone Recording จะอนุญาตให้พื้นที่แทร็คด้านนอก สามารถ ปรับจำนวนคลัสเตอร์ได้ทำให้พื้นที่แทร็ค ด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่า ด้านในและด้วยการแบ่งให้พื้น ที่แทร็คด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่าด้านในนี้ ข้อมูลสามารถจัดเก็บได้ตลอดทั้งฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีการใช้เนื้อที่บนแพล็ตเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการ เพิ่มความจุโดย ใช้จำนวนแพล็ตเตอร์น้อยลงจำนวนของเซกเตอร์ต่อแทร็ค ในดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วแบบปกติจะมีอยู่ ประมาณ 60 ถึง 120 เซกเตอร์ภายใต้การจัดเก็บแบบ Multiple Zone Recording

5. การทำงานของหัวอ่าน-เขียน
  หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล

6. ระยะเวลาอ่านหรือหาข้อมูล
Seek Time คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัด ๆ ไปในแทร็คที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
Head Switch Time  เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms
Cylinder Switch Time เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms

Rotational Latency เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) ด้วยเช่นกัน

7. ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์



  • จานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter)
  • หัวอ่าน/เขียน ของฮาร์ดดิสก์ (Read/Write Head)
  •  แขนที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์  (Head Arm/Head Slide)
  • มอเตอร์ที่ใช้หมุนจานฮาร์ดดิสก์ (Spindle Motor)
  • ตัวดักจับไฟฟ้าสถิต (Spindle Ground Strap)
  • แผงควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Logic Board)
  • ส่วนที่ใช้กรองอากาศ (Air Filter)
  • สายสัญญาณและ Connector (Cables and Connectors)
  • กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนหัวฮาร์ดดิสก์ (Head Actuator Mechanism)
  • Jumper ที่ใช้จัดตั้ง Configuration ของฮาร์ดดิสก์
  • รางและอุปกรณ์เสริมการติดตั้งฮาร์ดดิสก์
  • แผงวงจร Head Amplifier
  • ชุด Voice Coil
  • สาย Pair Ribbon ที่เชื่อมระหว่างหัวฮาร์ดดิสก์ กับ Logic Board

8. พาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์
สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์  แล้วอาจจะสังเกตว่าเวลาที่เราใช้งานนั้น  จะมี ไดร์ต่างๆ  ซึ่งมีมากกว่า 2 ครับเพราะว่าการที่เราจำเป็นต้องแบ่ง  พาร์ติชั่นนั้นมีประโยชน์มากมาย  เพราะว่าการแบ่งนั้นนอกจากมีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องเราแล้ว  แต่ก็ยังที่จะสามารถ Blackup  ของข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นสำรองข้อมมูลไม่ให้หายไปอีกด้วย  และที่สำคัญถ้าหากระบบ Windows เกิดปัญหาหรือเกิดการเสียหายแล้วเราอาจที่จะล้างข้อมูลส่วนนั้นได้โดยไม่กระทบในส่วนอื่นที่เราเก็บข้อมูลเอาไว้  เช่นถ้าหาก  เราเอาระบบ  windows ไว้ที่ไดรว์ C แต่เราเก็บข้อมูลไว้ที่ ไดรว์ D เราก็สามารถที่จะ ล้างระบบของ windows ซึ่งอยู่ที่ ไดรว์ C ได้โดยที่ไม่ได้ไปกระทบระบบ  ของไดวร์ D แต่อย่างใดเพราะฉะนั้นแล้วเราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามการแบ่ง พาร์ติชั้น
พาร์ติชันเป็นการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ  เพื่อเป็นการจัดโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ  โดยการจัดการและการกำหนดขนาดของ  พาร์ติชั่นของแต่ละไดรว์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เอง  โดยการจัดการความต้องการนั้นขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสก์  เช่น  เมื่อเรามี ฮาร์ดดิสก์ จำนวน 200 GB เราก็สามารถที่จะกันพื้นที่บางส่วนไว้  ติดตั้ง Windows 50 GB ไว้เก็บข้อมูล 150 GB  เป็นต้น


9. ประเภทของพาร์ติชัน
โดยทั่วไปลักษณะของพาร์ติชันมีอยู่ 3 แบบด้วย
1.พาร์ติชันหลัก (Primary)
เป็นพาร์ติชันหลักที่ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวต้องมี  ซึ่งเป็นพาร์ติชันแรกที่เราจะกำหนดพื้นที่ให้กับฮาร์ดดิสก์เพราะว่าเป็นพื้นที่ไว้สำหรับการติดตั้ง  ระบบปฏิบัติการด้วยจึงควรที่จำกำหนดขนาดให้เหมาะสมด้วย  พาร์ติชันหลักนั้นสามารถที่จะตั้งได้สูงสุด 4 พาร์ติชันเท่านั้น 
2.พาร์ติชันรอง (Extended)
พาร์ติชันรองเป็นการแบ่ง  พื้นที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลนอกเหนือจากพาร์ติชันหลัก  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็สมควรที่จะเก็บข้อมูลไว้ส่วนนี้เพราะจะได้ไม่ต้องไปยุ่งกับพาร์ติชันหลักหรือใครที่ติดตั้ง  OS สองตัวสามารถที่จะติดตั้งเข้าได้เลน
3.พาร์ติชันย่อย (Logical)
พาร์ติชันย่อย  เป็นพาร์ติชันที่ถูกแบ่งออกจากพาร์ติชันรอง  เพราะว่าตามจริงแล้วพาร์ติชั่นรองจะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่แบ่งพาร์ติชันย่อยเสียก่อน  เราแบ่งพาร์ติชันรองสำเร็จแล้วเราก็สามารถแบ่งพาร์ชันย่อยออกได้มาอีก

10. ปัญหาของฮาร์ดดิสก์
ปัญหาส่วนใหญ่ของ Harddisk คือ
1. Harddisk เต็ม
 2. มี Bad Sector (หมายถึงบางส่วนของพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเสียหาย)
3. การทำงานที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
ปัญหาและการแก้ไข
Harddisk เต็ม
ปัญหานี้คงต้องตรวจสอบก่อนว่า ที่ harddisk เต็มนั้นมาจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ หรือสืบเนื่องมาจากการใช้งานปกติ ถ้าเป็นที่การติดตั้งโปรแกรมมากๆ คงต้องมีการยกเลิกการติดตั้ง (Uninstall) ที่ไม่ได้ใช้ออกไปบ้าง แต่ถ้ามาจากการใช้งานปกติ ให้ตรวจสอบว่า เคยทำ Disk Cleanup แล้วหรือยัง ถ้ายัง ให้คลิกเข้าไปที่ Start -> Programs -> Accessories -> System Tools และคลิกเลือก Disk Cleanup (โปรแกรมนี้จะช่วยตรวจสอบไฟล์ที่เป็นขยะ ให้จัดการลบให้อัตโนมัติ)
Bad Sector
ผู้ชำนาญหลายท่านได้กล่าวว่า ปัญหา bad sector ของ harddisk แบ่งได้ 2 อย่างคือ bad จริง กับ bad ปลอม ซึ่งมีความหมายว่า bad จริง คือ มีรอยขีดข่วนที่พื้นผิว harddisk ซึ่งถ้าเป็นปัญหานี้ คงไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วน bad ปลอมนั้นเป็นปัญหาของโปรแกรมที่ตรวจสอบพบว่ามีปํญหาในการจัดเก็บ
การแก้ไข Bad ปลอม อาจเริ่มต้นการใช้โปรแกรม ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน โดยใช้โปรแกรม Scandisk ตรวจสอบ ถ้าพบ bad sector และต้องการแก้ไข คงต้องสำรองข้อมูล และลองทำ Fdisk กับ Format harddisk ดูใหม่ อย่างไรก็ตาม เราใช้โปรแกรม Utility ที่แก้ไข bad sector ได้ เช่น POWERMAX หรือ SPINRITE เป็นต้น
ทำงานช้าลง
ปัญหานี้ดูเป็นเรื่องปกติ ของผู้ใช้งาน Windows เนื่องจากการทำงานของ Windows จะมีการสุ่มการจัดเก็บข้อมูลลง harddisk ดังนั้น ถ้าการใช้งานของเรามีการสร้าง หรือลบไฟล์บ่อยๆ จะทำให้การสุ่มข้อมูลช้าลงได้ เนื่องจากพื้นที่ในการจัดเก็บไม่ได้เรียงต่อเนื่องกัน ดังนั้น วิธีการแก้ไขเบื้องต้นก็คือ การจัดเรียงข้อมูลในการจัดเก็บโปรแกรม+ข้อมูล ให้เป็นระเบียบ โดยเราสามารถใช้ utility ที่มาพร้อมกับ Windows ช่วยในการจัดเก็บได้ ซึ่งก็คือ Disk Defragment (คำแนะนำ ก่อนใช้โปรแกรมนี้ ควรรันโปรแกรม Disk Cleanup ก่อน จากนั้นให้รันโปรแกรม Scan Disk และท้ายสุดก็คือ Disk Defragmetn)

11. การบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์
วิธีการดูแลบำรุงรักษา ท้าย สุด เรามาดูวิธีการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟนั้นสำคัญการเรามาก ดังนั้นเมื่อเป็นของรักก็ต้องดูแลรักษากันหน่อย โดยวิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปนั้น จะมีสองขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
 1. สแกนหาไวรัส จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดชร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮา ร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส(VirusDefinition) ถ้าเก่าเกินกว่า ๓๐ วันก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อ การป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประ จำทุกสัปดาห์ 
 2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้ ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไ ฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options) 
            3. กำจัดขยะในซอกหลืบ แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย
 4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
 5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ โปรแกรม Defragmenter
 6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
 7. แบ็กอัพข้อมูล
 8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
 9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น