1. การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผล (Graphic Card, Display Card หรือ VGA
Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็น สัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียดและควาคมชัด ของกราฟฟิก
รวมทั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย
การ์ดแสดงผลจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ไม่ซับซ้อนมากนักโดยส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนการ์ดจะมีข้อความอธิบาย
ไว้ด้วย ซึ่งจะสนับสนุนช่องต่อแบบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของการ์ดรุ่นนั้นๆด้วยสำหรับส่วนประกอบต่างๆ
ที่สำคัญก็คือชิปกราฟฟิกแรมบนตัวการ์ดพอร์ตเชื่อมต่อสายสัญญาณกับจอภาพ
และอินเทอร์เฟสของการ์ด
นอกจากนั้นการ์ดบางรุ่นยังมีช่องต่อต่าง
ๆ ต่อไปนี้เพิ่มด้วย
ช่อง DVI สำหรับต่อกับจอภาพ LCD
ช่อง Video – in สำหรับรับไฟล์วิดีโอจากกล้องวิดีโอ
ช่อง Video-out สำหรับแสดง/นำไฟล์วิดีโอออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก
ช่อง TV-out สำหรับต่อเข้ากับทีวี (เป็นการ์ดแบบ TV-Tunner)
ดังนี้
นอกจากการพิจารณาตัวชิปบนการ์ดแล้ว
ในการเลือกการ์ดแสดงผลมาใช้งานยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบกันด้วย เพื่อให้ได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพตรงกับงานที่ทำอยู่ด้วย เช่น มาตรฐาน
การเชื่อมต่อ ชนิดและขนาดของแรมบนการ์ด เป็นต้นที่มีความเร็วในการทำงานถึง 2 GB/s เลยทีเดียว
1) Gaphic
ซึ่งปัจจุบัน ในการทำงานบน Windows นั้นเป็นการแสดงผลในแบบโหมด
Graphicซึ่งหน่วยความจำบนการ์ดจะคอยรับข้อมูลที่มาจากซีพียูถ้าหน่วยความจำ
มากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูมากช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น
การพิจารณาหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนั้น
สิ่งที่ควรดูมากที่สุดก็คือเรื่องของประเภทแรม และขนาดแรม แรมที่ใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีตั่งแต่
32-128 MB ซึ่งขนาดของแรมที่มากก็จะช่วยให้คุณภาพ
การ์ดแสดงผลของการ์ดสูงขึ้นตามไปด้วย
สำหรับชนิดของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันนั้นมีดังนี้
โดยประมาณ 528 MB ยังคงมีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน
รองจากแรมชนิด DDR SDRAM ที่มักเป็นมาตรฐานของการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่
ๆ
2) แรมชนิด DDR SDRAM เป็นแรมที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลมากที่สุด ในปัจจุบัน เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าแรมชนิด SDRAM ถึง 2 เท่าที่ความถี่เดียวกัน
3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาและจะนำไปใช้ เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz
3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาและจะนำไปใช้ เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz
คอมพิวเตอร์รุ่นประหยัดในปัจจุบัน
มักจะมีชิปสำหรับแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือเรียกว่า Video on Board อยู่แล้ว
ซึ่งส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่ออกมาทางด้านหลังของเมนบอร์ดก็จะมีเพียงพอร์ต VGA
สำหรับต่อเข้ากับสายสัญญาณจากจอภาพเท่านั้น
2. ชิปแสดงผลจากค่ายอื่น ๆ
นอกจากชิปแสดงผลยอดนิยมจากค่าย
nVidia และ ATi แล้วยังมีผู้ผลิต จากค่ายอื่น ด้วย
ซึ่งก็มุ่งเน้นตลาดในระดับที่แตกต่างกันไป
3. คุณสมบัติอื่น ๆ ของการ์ดแสดงผล
3.1 มาตรฐานการเชื่อมต่อ การแสดงผลในปัจจุบันใช้ระบบบัสเชื่อมต่อแบบ
AGP (
Accelerated Graphic Port ) ซึ่งมาแทนการเชื่อมต่อแบบ PCI
โดยมาตรฐาน AGP นี้ทำให้ได้ความเร็วด้านการแสดงผลเพิ่มขึ้น
เริ่มต้นที่ความถี่ 66 MHz (ในระบบบัส PCI ทำงานที่ความถี่33 MHz ) และความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่
266 MB/s โดยปัจจุบัน พัฒนาไปถึงมาตรฐาน AGP 8x
1) มาตรฐาน AGP 4x เป็นมาตรฐานที่มีใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเป็น 2 เท่า ของ AGP 2x โดยใช้ความกว้างบัส 32 บิต สามารถส่งข้อมูลได้ 4ครั้งใน 1 สัญญาณความถี่ ดังนั้นความถี่ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับ 266
MHz นั่นคือความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 266 MHz x
4 Bytes = 1064 MB/s หรือ 1 GB/s
2) มาตรฐาน AGP 8x AGP 8x เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุด
2 GB/sปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ
สนับสนุนมาตรฐานนี้กันบ้างแล้ว โดยการ์ดหลาย ๆ รุ่น เช่น ของ WinFast ที่ใช้ชิปกราฟฟิก GeForce FX 5800 หรือการ์ดของ
Gigabyte ที่ใช้ชิปกราฟฟิก ATi Radeon 9000 Pro ก็รองรับมาตรฐาน AGP 8x ด้วย
3.2 หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล
การทำงานของการ์ดแสดงผลนั้น
มีอยู่ 2 โหมด คือใหมด Text และโหมด
1) แรมชนิด SDRAM เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
มีอัตราการส่งข้อมูล
ประเภทของการ์ดแสดงผล
อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในการกำหนดว่าจะมีอะไรไปออกที่จอภาพได้บ้าง
รวมไปถึงความละเอียดและสีที่จะแสดงออกบนจอภาพ
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของวงจรบนการ์ด และมีส่วน
สัมพันธ์กับชอฟต์แวร์ที่จะให้ในการแสดงผลเป็นอย่างมาก
ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการ์ดแสดงผลในแต่ละแบบโดยเริ่มกันที่การ์ดแสดงผลรุ่นบุกเบิกของไอบีเอ็มคือ
MDA
MDA
(Monochrome Display Adapter) เป็นการ์ดแสดงผลรุ่นแรกของไอบีเอ็ม
นิยมใช้กับจอโมโนโครมสามารถแสดงผลได้เฉพาะข้อความ (text) เท่านั้น และแสดงได้เพียงสีเดียว ไม่สามารถแสดงรูปกราฟิกใด
ๆ ได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของการ์ดแสดงผลเอง ปัจจุบันนี้แทบ จะไม่มีใช้กันแล้ว
เพราะว่าชอฟต์แวร์ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแสดงผลกราฟิกและสีสันที่สวยงาม
CGA
(Color Graphics Adapter) เป็นการ์ดรุ่นถัดมาของไอบีเอ็มที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อความและรูปภาพ
โดยสีที่แสดงจะได้สูงสุดถึง 16 สี
แต่จะขึ้นอยู่กับความละเอียดในการแสดง ผลด้วยกล่าวคือ
ถ้าความละเอียดในการแสดงผลมาก จำนวนสีที่แสดงได้ก็น้อยลง เช่น
ถ้ามีความละเอียดในการแสดงผลสูงสุด 640 X 200 จุด
จะสามารถแสดงสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น
คือขาวกับดำ แต่ถ้าเป็นความละเอียด 320 X
200 จุด ก็จะแสดงสีได้ 4 สี
เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องมาจากหน่วยความ จำบนการ์ดมีอยู่อย่างจำกัดหน่วยความจำที่ว่านี้ก็คือวิดีโอแรมที่ใช้เก็บรูปภาพบนจอ
ถ้านำหน่วย ความจำนี้ไปใช้ในการเก็บสีจำนวนมากแล้ว
ก็จะเหลือหน่วยความจำที่ใช้เก็บรูปภาพได้น้อยลง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
ถ้าความละเอียดในการแสดงผลสูงขึ้นจำนวนสีที่แสดงได้ก็จะน้อยลง
เฮอร์คิวลิส
(hercules)
สืบเนื่องจากข้อจำกัดของการ์ดแสดงผลแบบ MDA
ที่แสดงผล ได้เฉพาะข้อความบนจอโมโนโครมเท่านั้น
การที่จะเปลี่ยนไปใช้การ์ดแสดงผลแบบ CGA เพื่อให้สามารถแสดงรูปภาพที่เป็นกราฟิกได้ก็จำเป็นต้องไปหาซื้อจอสีมาใช้
ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าจอโมโน โครมมากพอสมควร
ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นพัฒนาการ์ดแสดงผลอีกแบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้สามารถ แสดงผลทั้งข้อความและรูปภาพบนจอโมโนโครมได้ การ์ดที่ว่านี้ก็คือการ์ดเฮอร์คิวลิส
ซึ่งคิดค้นโดยบริษัทเฮอร์คิวลิสเทคโนโลยี แล้วการ์ดแสดงผลแบบเฮอร์คิวลิสหรืออาจจะเรียกกันในชื่อโมโนโครมกราฟิกอะแดปเตอร์ ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เนื่องจากหน่วยความจำบนการ์ดสูงมากถึง 64
กิโลไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับ การทำเป็นวิดีโอแรมทั้งสำหรับการใช้งานในโหมดของข้อความและรูปภาพพร้อม
ๆ กัน ซึ่งปัจจุบันนี้การ์ดชนิดนี้ได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับจอโมโนโครมไป
EGA เมื่อชอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกต้องการอุปกรณ์แสดงผลที่มีความละเอียดสูงขึ้นและ แสดงสีได้มากขึ้น ซึ่งการ์ดแสดงผลแบบ CGA ไม่สามารถรองรับงานแบบนี้ได้ ไอบีเอ็มจึงได้ ออกการ์ดแสดงผลแบบใหม่ที่เรียกว่า
EGA (Enhanced Graphic Adapter) การ์ดรุ่นใหม่นี้มีความ สามารถที่สูงขึ้นกว่าการ์ด CGA มากนัก
กล่าวคือ มีหน่วยความจำบนการ์ด 128 กิโลไบต์
หรืออาจจะติดตั้งได้ถึง 256 กิโลไบต์
ความละเอียดในการแสดงผลสูงถึง 640 X 350 จุด
แสดงสีได้พร้อมกัน 16 สีจากที่มีให้เลือก 64
สี การ์ดรุ่นใหม่นี้ต้องใช้กับจอ EGA ของไอบีเอ็ม หรืออาจจะเป็นจอสียี่ห้ออื่นที่สนับสนุนการ์ดแสดงผลแบบ EGA
ก็ได้ การ์ดแสดงผลแบบ EGA
นี้ นอกจากจะทำงานในลักษณะที่มีความละเอียดและจำนวนสีสูงกว่าการ์ด
CGA แล้ว ยังสามารถทำงานเลียนแบบหรือแทนการ์ดแบบ
CGA ได้อีกด้วยบรรดาขอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้แสดงผลออกมาทางการ์
CGA สามารถนำมาใช้กับ EGA ได้ด้วย แต่อาจจะไม่เสมอไป
เนื่องจากวงจรภายในของการ์ด EGA มีชิปไอซีที่แตกต่างไปจากการ์
CGA ทำให้การทำงานภายในแตกต่างกัน
โดยทั้งนี้ภายในการ์ด EGA จะมีโปรแกรมไบออสที่คอย ควบคุมการทำงาน โปรแกรมตัวนี้จะจัดการปรับการทำงานกับวงจรภายในตการ์ด
EGA ให้เข้ากับ โปรแกรมที่ทำมาสำหรับการ์ด
CGA ได้ แต่ทั้งนี้โปรแกรมนั้น ๆ
จะต้องส่งข้อมูลออกทางจอภาพ ผ่านไบออสนี้เท่านั้น
ถ้าเป็นการเขียนข้อมูลลงวิดีโอแรมโดยตรงเพื่อแสดงผลโดยไม่มีการเรียกใช้ไบออสก็จะเกดความไม่เข้ากันทำให้ใช้งานไม่
การ์ดขนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยหนึ่ง
จนทำให้มีผู้ผลิตการ์ดขนิดนี้ตามออกมาอย่างมากมาย โดยพยายมปรับปรุงรายละเอียดต่าง
ๆ ให้ดีขึ้นกว่าของไอบีเอ็ม เช่น ทำให้มีขนาด เล็กลงความละเอียดในการแสดงผลที่สูงขึ้น
และในราคาที่ต่ำกว่าของไอบีเอ็ม
PGA
(Professional Graphic Adapter) เป็นการ์ดแสดงผลอีกรุ่นหนึ่งของไอบีเอ็ม
ที่มีความ สามารถในการแสดงผลสูงกว่า EGA
โดยสามารถแสดงสีได้ 256 สีพร้อมกันจากทั้งหมด 4096
สี ความละเอียดถึง 640 X 480 จุด การ์ดชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับจอ PGA โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับใช้งานกับโปรแกรมที่เน้นทางด้านกราฟิก
เช่น CAD/CAM หรือโปรแกรมวาดรูปต่าง ๆ ถ้าจะสังเกตให้ดี
คุณภาพของการ์ดนี้จะพอ ๆ กับการ์ดแบบ EGA ของบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ไอบีเอ็ม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความละเอียดหรือสีดังนั้นการ์ดขนิดนี้จึงไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
โดยเฉพาะในบ้านเราจะไม่ค่อยได้ยินชื่อการ์ดชนิดนี้กันมากนัก
MCGA
(Multi-Color Graphics Array) เป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ที่ไอบีเอ็มออกมาเพื่อให้ใช้งานกับเครื่อง
PS/2 ในรุ่นเล็ก ๆ (model 25
และ 30) ความสามารถในการแสดงผลจะสูงกว่า EGA
คือความละเอียดสูงถึง 640 X 480 จุด แสดงสีได้ 2 สี
แต่ถ้าเป็นโหมดความละเอียด 320 X 200 จุด
จะสามารถแสดงสีได้ถึง 256 สี
การ์ดชนิดนี้สามารถทำได้ทุกอย่างเทียบเท่ากับ การ์ด
แต่จะยกเว้นเพียงบางโหมของ EGA เท่านั้น
VGA (Video
Graphics Array) เป็นการ์ดแสดงผลสำหรับเครื่อง PS/2
อีกรุ่นหนึ่งที่มีความสามารถสูงกว่า MCGA โดยสามารถแสดงสีได้ถึง 16 สี
ที่ความละเอียด 640 X 480 จุด หรือจะเลือกความละเอียด 320 X 200 จุด
ซึ่งเลือกสีได้มากถึง 256 สี
การออกแบบการ์ด VGA นั้นมุ่งเน้นไปที่ให้มีความสามารถในการรองรับการแสดงผลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น
CGA หรือ EGA ดังนั้น
ชอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้ใช้กับการ์ดแสดงผลแบบ CGA และ EGA จึงสามารถนำมาใช้กับ VGA
ได้ และคุณภาพของภาพก็จะดีกว่าด้วย การ์แสดงผลแบบ VGA นี้ได้รับความนิยมอย่างสูง
จนมีบรรดาผู้ผลิตรายอื่น ๆหันมาผลิต การ์ดที่คอมแพตกับไอบีเอ็มมากขึ้น
จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบัน VGA ได้กลายเป็นมาตรฐานของการแสดงผลไปแล้ว
โดยจะเห็นได้จากเครื่องพีซีหลาย ๆ ยี่ห้อได้สร้างการ์ด VGA
ติดมากับเมนบอร์ดเลย ทำให้มาตรฐานการแสดงผลเป็นแบบ
VGA ไปโดยปริยาย
Super VGA
มักจะมีการกล่าวถึง Super VGA .ในทางช่วยส่งเสริม เช่น มีสีมาก ขึ้นหรือมีความละเอียดสูงขึ้น
ซึ่งช่วยให้มั่นใจในความเข้ากันได้กับ VGA คำแนะนำของ VESA
คือจะต้องมีความละเอียด 800 X 600 และ 16 สี
แต่ผู้ผลิตมักจะผลิตบอร์ดที่มี 256 สี
หรืออาจจะกล่าวถึงบอร์ดที่ให้ความละเอียด 1,024 X 768 ว่าเป็น Super VGA อย่างไรก็ดี
ก็มีปัญหาคือจำนวนมาตรฐานของการแสดงภาพกราฟิกที่มีอยู่มากมาย มาตรฐาน VGA
เองจะรวมโหมดการแสดงผลไว้ 17 โหมด ซึ่งเป็นวิธีการต่าง ๆ ในการแสดงภาพบนจอ โหมดเหล่านี้ส่วนมากจะเข้ากันได้ย้อนหลังกับมาตรฐานก่อน ๆ
ที่มีความสำคัญมากคือ colorgraphics adapter (CGA) enhanced graphics
adapter (EGA) และ monochrome display
adapter (MDA) ถ้าตัดมาตรฐานก่อน ๆ ออก ก็จะเหลือ Super
VGA (ใช้เป็นมาตรฐานที่ไม่ค่อยมาตรฐานนัก) อะแดปเตอร์ 8511/A ของ IBM
สำหรับเครื่อง MCA และมาตรฐาน
extended graphicsarray (XGA) ของ IBM
มาตรฐานเหล่านี้ทั้งหมดให้สีหรือความละเอียดสูงกว่า VGA
นั่นไม่ได้รวมอะแดปเตอร์ต่าง ๆ ที่ใชิป continonous
edge graphics (CEG) ใหม่ ซึ่งกล่าวไว้ว่าจะให้สีมากกว่า
740,000 สีบนจอภาพของคุณในเวลาเดียวกัน
และมากเป็นพิเศษดได้แม้แต่บนการ์ดความละเอียด 1,600 X 1,200 จุดก็ยังสามารถให้สีได้มากกว่าล้านสีก่อนที่คุณจะผลุนผลันออกไปซื้ออะแดปเตอร์แสดงผล
มีสิ่งที่ควรจำไว้หนึ่งข้อนั่นคือชอฟต์แวร์
ชอฟต์แวร์ใหม่ส่วนมากจะรวมส่วนสนับสนหุนสำหรับโหมด VGA มาตรฐานกับการ์ดแสดงผลอื่น ๆ คุณได้แต่หวังว่าผู้ผลิตจะรวมไดรเวอร์
สำหรับชอฟต์แวร์ให้ด้วย เรื่องนี้อาจจะไม่เป็นปัญหา ถ้าคุณใช้ Lotus 1-2-3 Auto CAD, Windows หรือ Ventura Publisher นอกเหนือจาก พวกนี้
คุณจะต้องมั่นใจว่าผู้ผลิตจัดเตรียมไดรเวอร์ที่คุณต้องการให้ก่อนที่คุณจะซื้อการ์ดใหม่ เรื่องแบบนี้มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน
ดังนั้นถามไว้เสมอว่ารวมไดรเวอร์ให้ด้วยแล้ว เรื่องสำคัญที่ออกมาอีกเรื่องหนึ่งคือ
จอภาพที่คุณมีอยู่สามารถที่จะสนับสนุนความละเอียดที่ สูงกว่าซึ่งมีอยู่ในการ์ดหรือไม่ ถ้าคุณมีจอภาพแบบ CGA
หรือ EGA คอมแพติเบิล
คุณมีโอกาสที่จะต้องใข้จอภาพใหม่เพื่อเอาส่วนดีของ VGA หรือบอร์ดแสดงผลที่ดีกว่ามาใช้งานจอภาพรุ่นเก่าใช้ดิจิตอลอินเตอร์เฟช
ในขณะที่ VGA ต้องการแอนะล็อกอินเตอร์เฟช
มีเพียงจอภาพหลายความถึ่เท่านั้นที่ให้คุณใช้ได้ทั้งระบบดิจิตอลและแอนะล็อก
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจอภาพ หลายความถี่ทุกเครื่องจะทำงานกับการ์ด
VGA ได้
จอภาพต้องทำงานได้ภายในความถี่ที่สแกนในแนวนอนและแนวตั้งที่มาตรฐานต้องการและคุณตั้งใจจะใช้
(ดูบทที่ 4 เรื่องจอภาพและความต้องการต่าง ๆ)
8514/A ชื่อ 8514 นั้นเป็นชื่อจอภาพรุ่นหนึ่งของไอบีเอ็ม
ในปี ค.ศ. 1987 ดังนั้น การ์ดแสดงผลแบบนี้จึงใข้เฉพาะในเครื่องตระกูล PS/2 รุ่นสูง ๆ ของไอบีเอ็มเท่านั้น
การ์ดแสดงผลชนิดนี้จะมีความละเอียดที่สูงกว่า VGA ขึ้นไปอีก โดยสามารถแสดงสีได้สูงสุด 256 สีที่ความละเอียด
1024 X 768 จุดการ์ดรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ไอบีเอ็มหมายมั่นปั้นมือจะให้มาแทน
VGA ในเครื่อง PS/2 รุ่นใหม่ ๆ แต่ข้อเสียที่ให้อภัยไม่ได้ของ 8514/A ก็คือ ไม่คอมแพทิเบิลกับ VGA ทำให้ชอฟต์แวร์ต่าง
ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาบน VGA นำมาใช้กับ 8514/A
ได้น้อยมาก ดังนั้นไอบีเอ็มจึงได้ พัฒนาการ์ดแสดงผลแบบใหม่ที่จะมาใช้กับเครี่อง
PS/2 รุ่นสูง ๆ โดยใช้ชื่อว่า XGA
XGA ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานใหม่ของการแสดงบนเครื่อง PS/2 รุ่นใหม่ เช่น ในโมเดลสูง ๆ การ์ดชนิดนี้จะมีความคอมแพตกับ
VGA เต็ม 100 % จึงสามารถนำชอฟต์แวร์ ของเดิมมาใช้ได้ทันที่
นอกจากจะคงความคอมแพตแล้ว XGA ยังได้เพิ่มความสามารถพิเศษหลาย
ๆ อย่างเข้าไปอีก จึงทำให้ XGA เหมาะสำหรับการติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดของเครื่อง PS/2
รุ่นสูง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า XGA
เป็นการรวมเอาความสามารถของ VGA และ 8514/A เข้าไว้ด้วยกัน การพัฒนาการ์ด XGA นั้นมุ่งหน้นให้คงความคอมแพตกับ
VGA เพื่อให้ชอฟต์แวร์ เดิม ๆ ที่พัฒนามาบน VGA สามารถนำมาใช้กับ
XGA ได้ทันที
นอกจากนั้นยังได้เพิ่มการควบคุมบัสแบบใหม่เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากบัสแบบ
MCA ได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งใช้ ฮาร์ดแวร์เคอร์เชอร์ที่ให้ผู้ใช้ใช้งานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
รวมทั้งไอบีเอ็มยังได้จัดเตรียม รายละเอียดการใช้งานและคุณสมบัติของ
XGA เอาไว้อย่างละเอียด
ซึ่งผู้พัฒนาชอฟต์แวร์ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการเขียนแอพพลิเคชันเพื่อรองรับการทำงานกับ
XGA ได้ การทำงานของ
XGA จะแบ่งออกเป็น 3 แบบที่ต่างกัน คือ VGA ปกติ VGA แบบ 132 คอลัมน์และ XGA
การทำงานในโหมดของ VGA นั้นจะเหมือนกับ
VGA การ์ด ทุกประการ
เพียงแต่เพิ่มเติมอินเทอร์นัลไรท์แคช internal write cache) ที่ทำหน้าที่เป็น บัฟเฟอร์ให้กับซีพียูไว้สำหรับพักข้อมูลในขณะที่ทำการเขี่ยนข้อมูลลงบนจอภาพ
ทำให้การ ทำงานของ XGA สูงกว่าการ์ด VGA การ์ดโดยทั่วไปจากการทดสอบของไอบีเอ็มพบว่าเมื่อ
XGA ทำงานในแบบการ์ด VGA จะเร็วกว่าการ์ด VGA แบบเดิมถึง 20
% ในดอส หรือ เร็วขึ้นประมาณ
50 % ในไมโครชอฟต์วินโดว์
นอกจากความเร็วที่สูงขึ้นแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะยังคงเหมือนกับ VGA
ทุกประการ สำหรับการทำงานในโหมดของ
XGA นั้น
จะมีความละเอียดและจำนวนสีที่มากกว่าการ์ด VGA โดยจะมีจำนวนสีถึง
65,536 สี ความละเอียดสูงสุด 1024
X 768 จุด
ความสามารถอื่นที่เพิ่มเข้ามาคือฟังก์ชันการควบคุมบัส ความเร็วในการวาดภาพสูงขึ้น
และมีฮาร์ดแวร์เคอร์เชอร์
พร้อมทั้งหน่วยประมวลผลร่วมทางด้านกราฟิกทำให้สามารถสร้างภาพกราฟิกได้เร็วขึ้น
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานด้านกราฟิกที่ต้องการความเร็วและความละเอียดสูง ๆ ความละเอียดของกราฟิกใน XGA เลือกได้จาก
640 X 480 จุด หรือ 1024 X 768
จุดซึ่งจะต้องมีหน่วยความจำในส่วนของวิดีโอแรมขนาด 1
เมกะไบต์
เพื่อรองรับความละเอียดและจำนวนสีระดับนี้ให้ได้ ปัญหาอย่างหนึ่งของการพัฒนาโปรแกรมในแบบมัลติทาสกิง
ก็คือ การเก็บสภาวะ ของจอเมื่อมีการสวิตช์ไปมาระหว่างโปรแกรมต่าง
ๆ XGA ได้แก้ปัญาหานี้โดยออกแบบให้มี ฟังก์ชันในการเก็บสภาวะของจอและการดึงสภาวะเดิมกลับมาไว้ในตัว
ทำให้การพัฒนาโปรแกรมบันมัลติทาสกิงทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น XGA
ยังสามารถกำหนดหน่วยความจำบนจอภาพให้มีตำแหน่งตรงกับหน่วยความจำของซีพียูเพื่อเให้ซีพียูสามารถใช้หน่วยความจำ นั้นวาดภาพและแก้ไขได้โดยไม่ต้องคัดลอกไปมาระหว่างจอภาพกับหน่วยความจำ
เป็นผลให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่าปกติขึ้นอีกมาก
จอภาพ
จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย
เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ
เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic)
โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80
ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก
จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480
pixel
ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ
กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ
แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ
โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน
โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม
ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0
กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ
แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ
จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
จอภาพหลายสี (Color Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล
4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่
เป็นแบ่งได้เป็น
Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง
และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrix
color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย
และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง
เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
การทำงานของจอภาพ
เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น
และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ
ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน
ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน
มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง
ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ
เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
ปัจจุบันกระแสจอแบน
ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น
ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน
โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5
วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา
ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์
จอภาพชนิด
CRT
จอภาพชนิดนี้ มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ คือ ยิงลำอิเล็กตรอนไปกระทบกับสารเรืองแสง Phosphor ที่ ฉาบอยู่ที่ผิวจอภาพด้านในผ่าน "หน้ากาก" ซึ่งเป็นแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของ Phosphor ทำให้เกิดแสงสีต่างๆ ขึ้นบนจอ ภาพตามแต่รูปแบบของสัญญาณภาพที่ส่งผ่านมาจาการ์ดแสดงผล
ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ มีความหนา และน้ำหนัก มาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่ จะมีการออกแบบ ให้มี ความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้ จะให้ภาพที่มี ความคม ชัดและสว่างมากกว่า เดิม
จอภาพชนิด LCD
จอภาพ LCD (Liquid Cystal isplay) เป็นจอภาพแบบแบนมีขนาดเล็กบางและน้ำหนักเบา มีหลักการทำงานคือ ภายในจะมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำหน้าที่ใช้แสงสว่างออกมาผ่านชั้นของผนึกเหลวที่เรียกว่า Liquid Crystal และผ่าน polarizer เพื่อให้แสงในแนวต่างๆ ผ่านมาตามการบิดตัวของแสงโดยผ่าน ฟิลเตอร์ สีอีกชั้นหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นจุดสีแดงต่อ เนื่องกัน ออกมาเป็นภาพสีบนหน้า สำหรับจอ LCD ในปัจจุบันมักเป็น แบบ TFT (Thin-Film Transistor) เพราะจะให้ภาพที่มีความสว่างสีสันสด ใส และคมชัดกว่าจอ LCD แบบ STN แต่เดิมจอภาพชนิดนี้จะมีใช้เฉพาะในเครื่องโน๊ตบุ๊ค แต่ปัจจุบันเริ่มมีใช้กันในเครื่อง แบบตั้งโต๊ะกันแล้ว โดยมีขนาดใหญ่ถึง 22" สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คจะมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 16"
ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ มีความหนาและน้ำหนักมาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่จะมีการออกแบบให้มีความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้จะให้ภาพที่มีความคมชัดและสว่างมากกว่า เดิม
จอภาพชนิดนี้ มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ คือ ยิงลำอิเล็กตรอนไปกระทบกับสารเรืองแสง Phosphor ที่ ฉาบอยู่ที่ผิวจอภาพด้านในผ่าน "หน้ากาก" ซึ่งเป็นแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของ Phosphor ทำให้เกิดแสงสีต่างๆ ขึ้นบนจอ ภาพตามแต่รูปแบบของสัญญาณภาพที่ส่งผ่านมาจาการ์ดแสดงผล
ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ มีความหนา และน้ำหนัก มาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่ จะมีการออกแบบ ให้มี ความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้ จะให้ภาพที่มี ความคม ชัดและสว่างมากกว่า เดิม
จอภาพชนิด LCD
จอภาพ LCD (Liquid Cystal isplay) เป็นจอภาพแบบแบนมีขนาดเล็กบางและน้ำหนักเบา มีหลักการทำงานคือ ภายในจะมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำหน้าที่ใช้แสงสว่างออกมาผ่านชั้นของผนึกเหลวที่เรียกว่า Liquid Crystal และผ่าน polarizer เพื่อให้แสงในแนวต่างๆ ผ่านมาตามการบิดตัวของแสงโดยผ่าน ฟิลเตอร์ สีอีกชั้นหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นจุดสีแดงต่อ เนื่องกัน ออกมาเป็นภาพสีบนหน้า สำหรับจอ LCD ในปัจจุบันมักเป็น แบบ TFT (Thin-Film Transistor) เพราะจะให้ภาพที่มีความสว่างสีสันสด ใส และคมชัดกว่าจอ LCD แบบ STN แต่เดิมจอภาพชนิดนี้จะมีใช้เฉพาะในเครื่องโน๊ตบุ๊ค แต่ปัจจุบันเริ่มมีใช้กันในเครื่อง แบบตั้งโต๊ะกันแล้ว โดยมีขนาดใหญ่ถึง 22" สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คจะมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 16"
ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ มีความหนาและน้ำหนักมาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่จะมีการออกแบบให้มีความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้จะให้ภาพที่มีความคมชัดและสว่างมากกว่า เดิม
วิธีพิจารณาในการเลือกซื้อจอ
เรื่อง ของหน้าจอแสดงผล
ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการเลือกซื้อ จอ LED ด้วยเช่น กัน
ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบจอแบบเคลือบเงา หรือที่เรียกว่า “จอกระจก” จอแบบดังกล่าวนี้ มีคุณสมบัติ
ที่ดีในการชมภาพยนตร์ และเล่นเกม เนื่องจากให้สีสันที่สดใส และแสงที่สว่าง
จึงมักได้รับความนิยมหมู่คน ที่ชอบความบันเทิงเป็นหลัก
แต่ราคาก็ต้องสูงขึ้นไปด้วยอย่างแน่นอน ส่วนอีกแบบหนึ่ง เป็นจอธรรมดา
คุณสมบัติที่ดีอยู่ที่การให้ความคมชัดที่สูงไม่เน้นที่ความสว่างมากนัก
จึงเหมาะกับผู้ที่ใช้ งานอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังไม่มีการสะท้อนรบกวนของแสงเช่นเดียวกับจอกระจก
อีกทั้งจอแบบดังกล่าวยังมีราคาที่ไม่สูงอีกด้วย ทั้งสองแบบนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป
ส่วนการจะเลือกแบบใดนั้นให้ดูที่ความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวัน เป็นหลัก
1. รูปลักษณ์ และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพที่จะได้
รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกัน
ที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็น
เรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส
และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจ
หรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้
เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆ
เช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย - ขวา
หรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวาง
หรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้
หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิก
ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี
2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง
ๆ ของจอแอลอีดี จะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่
ความละเอียดส่วน ใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024x768 แต่ถ้า เป็น 18.5
นิ้ว จะอยู่ที่ 1600x900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920x1080 ซึ่งการจะเลือกใช้
ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์ งานเอกสาร ตัดต่อ
กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป
3. Response
Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสี
ในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา
(G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะ
ส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้า
อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้น
จนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบัน
ควรจะอยู่ที่ 2-8 ms
4. Contrast
Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง
และความมืด ว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด
สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆ การเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก
โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง
100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic
หรือ Mega
5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล
หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบัน
แม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม
แต่แนวโน้มในไม่ช้า กราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI
เป็นส่วนใหญ่ครับ ซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้ นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่า
เนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า
DVI
6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead
Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้ว
ถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆ โดยเปลี่ยน
สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำ
ทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อย
ๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น
แบบมาตรฐาน ดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยน
ความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้
ยกเว้นบางแบรนด์ 1 จุด จะเปลี่ยนให้
เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น