กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
ความทันสมัยของเดทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นับว่าก้าวทันความต้องการของคนเราอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการตอบสนองต่อความใจร้อนของมนุษย์ "ไปเที่ยว พก PDA อยากอวดภาพทันที" ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ด้วยกล้องดิจิตอล (Digital Camera) ทำให้ความต้องการดังกล่าวของมนุษย์ เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้
กล้องดิจิตอล นับเป็นนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาได้สะดวก โอนถ่ายเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ทันที เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็ว โดยอุปกรณ์ตัวเล็กชิ้นนี้จะทำงานด้วยตัวสร้างประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า CCD (Charge Coupled Device) ภายในตัวกล้อง ผ่านการกระตุ้นด้วยแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ และส่งผลให้เกิดภาพบนสื่อบันทึกภายในกล้อง เช่น Memory Stick, Memory Card ,Digital Camera Digital Camera
ประโยชน์ของกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล
ประโยชน์ของกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล
1.รวดเร็ว เพราะเมื่อถ่ายรูปแล้ว ก็สามารถนำมาใช้งานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก เป็นไฟล์ภาพบนแผ่นดิสก์ หรือการถ่ายโอน เข้าคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ทต่างๆ
2.ใช้งานง่าย เพราะมีการทำงานแบบอัตโนมัติ
3.ไม่เปลืองฟิล์ม เพราะอาศัยอุปกรณ์บันทึกที่สามารถลบข้อมูล และนำมาใช้งานใหม่ได้
การประยุกต์ใช้งาน
1.งานด้านสิ่งพิมพ์
2.งานโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต ภาพประกอบเว็บเพจ
3.งานบุคลากรในองค์กรต่างๆ
4.งานด้านประกันภัย
รูปแบบการบันทึกข้อมูล
รูปแบบการบันทึกข้อมูล
1.หน่วยความจำภายในแผ่นการ์ดบันทึกข้อมูลเฉพาะ เช่น SSFDC (Solid State Floppy Disk Card) ของกล้องตระกูลฟูจิ
2.ฮาร์ดดิสก์แบบ PCMCIA type III
3.แผ่นดิสก์
สำหรับท่านที่สนใจอุปกรณ์ไฮเทคชิ้นนี้ และอยากได้เป็นเจ้าของ มีหลักพิจารณาดังนี้
1. ดูงบในกระเป๋า - ก่อนซื้อก็คงต้องดูงบประมาณในกระเป๋าก่อน ปัจจุบันราคาอุปกรณ์นี้อยู่ในช่วง 3,500 - 50,000 บาท เพราะฉะนั้นจากงบประมาณที่ท่านมี ก็คงจะช่วยให้พิจารณาได้ง่าย
2. จุดประสงค์ในการใช้งาน - สำหรับท่านที่มีงบพอประมาณ ก็คงมาดูที่จุดประสงค์ในการใช้งาน สำหรับท่านที่นำมาใช้กับงานพัฒนาเว็บไซต์ เลือกได้ง่ายมากเลย เพราะเลือกได้ทุกรุ่น แล้วแต่กำลังทรัพย์ เนื่องจากกล้องตัวนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานเว็บเป็นหลัก แต่ถ้าท่านต้องการใช้เพื่อบันทึกภาพแทนกล้องจริง หรือใช้เก็บภาพสำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ก็คงต้องเตรียมงบให้สูงขึ้นสักนิด เพื่อเลือกกล้องที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด เท่าที่กำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย
3. ความละเอียดของภาพ - ความละเอียดของภาพ เป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่ทำให้ราคากล้องนี้แตกต่างกันออกไป อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วภาพสำหรับงานเว็บต้องการความละเอียดเพียง 72 จุดต่อนิ้ว แต่ถ้าท่านต้องการใช้ภาพถ่ายกับงานสิ่งพิมพ์ ก็ควรดูกล้องฯ ที่รอบรับได้มากกว่า 150 จุดต่อนิ้ว (ประมาณ 2 ล้านพิกเซลขึ้นไป)
4. คุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ - กล้องแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากมีงบประมาณที่เพียงพอ ลองพิจารณาองค์ประกอบนี้ด้วย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของท่านมากที่สุด
หลักการถ่ายภาพ
1.กล้องดิจิตอล จะมีจอภาพ LCD สำหรับแสดงผลภาพทั้งขณะถ่าย หลังถ่าย ซึ่งการทำงานส่วนนี้จะทำให้แบตเตอรรี่ถูกใช้งานมาก ดังนั้นหากมีช่องเลนส์มองถ่ายภาพ ควรปิดจอภาพ LCD แล้วใช้ช่องมองภาพในการถ่ายภาพแทน
2.ไม่ควรถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงจ้ามาก
3.ใช้แฟลซให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างคมชัด
4.ไม่ถ่ายภาพสะท้อน หรือผ่านกระจก
เมื่อได้ภาพที่ต้องการ สามารถโอนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้สะดวกเช่นกัน (แม้ว่าจะต้องพกพาอุปกรณ์เสริมอีกหลายชิ้น) แม้ว่าแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อจะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางรุ่นบันทึกลงแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วก็สามารถนำแผ่นดิสก์มาใส่ใน Disk Drive แล้วเรียกใช้งานได้ทันที สำหรับปัจจุบันนิยมถ่ายโอนผ่าน USB Port ซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะ (Driver) ซึ่งใช้งานได้ง่ายและสะดวก อย่างไรก็ตามคงไม่สามารถแนะนำในเอกสารนี้ได้ แต่ผู้เขียนหวังว่าคงไม่ยากเกินไปสำหรับผู้สนใจที่จะศึกษาจากเอกสารคู่มือที่แนบมากับกล้องที่ท่านซื้อ
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของกล้องดิจิทัล มีดังนี้
1. ตัวกล้อง มีลักษณะเป็นกล่องทึบแสงซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้แสงสว่างผ่านเข้าไปยังตัวกล้องได้ ตัวกล้องมีขนาดแตกต่างกันไปตามคุณภาพและราคาของกล้อง
2. เลนส์ กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่จะไม่สามารถถอดหรือเปลี่ยนเลนส์ได้ แต่หากกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้จะมีราคาแพงและมักใช้งานในระดับมืออาชีพ เลนส์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนจากวัตถุเข้ามายังตัวรับแสงของกล้อง วัสดุที่ใช้ในการทำเลนส์มี 2 ชนิดคือ พลาสติกและแก้ว ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งคุณภาพและ ราคา
2.1 เลนส์พลาสติก ซึ่งมีราคาถูก ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพต่ำ มักจะใช้ในกล้องรุ่นเก่า
2.2 เลนส์ที่ทำจากแก้ว มีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สามารถซูมได้ทั้งแบบ Digital Zoomและ Optical Zoom จะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
3. ช่องมองภาพ เพื่อใช้มองภาพและจัดองค์ประกอบของภาพแล้วถ่ายภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังมีช่องมองภาพที่เป็นจอ LCD ติดอยู่กับตัวกล้อง ทำงานเช่นเดียวกับช่องมองภาพธรรมดา ภาพที่ปรากฎจะเหมือนกับภาพที่ถ่ายออกมาได้ทุกประการ ช่องมองภาพมี 2 ชนิดคือ
3.1 ช่องมองภาพแบบเล็งแล้วถ่าย (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพแบบที่ใช้ในกล้องราคาถูกให้ภาพที่ละเอียดไม่มากนัก การใช้งานสามารถเล็งได้โดยตรงจากช่องมองภาพแล้วออกไปได้ทันที กล้องดิจิทัลที่มีช่องมองภาพแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิทัลอัตโนมัติ ไม่ต้องปรับแต่งค่ามากนักก็
2.2 เลนส์ที่ทำจากแก้ว มีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สามารถซูมได้ทั้งแบบ Digital Zoomและ Optical Zoom จะได้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด
3. ช่องมองภาพ เพื่อใช้มองภาพและจัดองค์ประกอบของภาพแล้วถ่ายภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังมีช่องมองภาพที่เป็นจอ LCD ติดอยู่กับตัวกล้อง ทำงานเช่นเดียวกับช่องมองภาพธรรมดา ภาพที่ปรากฎจะเหมือนกับภาพที่ถ่ายออกมาได้ทุกประการ ช่องมองภาพมี 2 ชนิดคือ
3.1 ช่องมองภาพแบบเล็งแล้วถ่าย (Optical Viewfinder) เป็นช่องมองภาพแบบที่ใช้ในกล้องราคาถูกให้ภาพที่ละเอียดไม่มากนัก การใช้งานสามารถเล็งได้โดยตรงจากช่องมองภาพแล้วออกไปได้ทันที กล้องดิจิทัลที่มีช่องมองภาพแบบนี้จะเป็นกล้องดิจิทัลอัตโนมัติ ไม่ต้องปรับแต่งค่ามากนักก็
สามารถเล็งผ่านช่องแล้วกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพได้ทันที
3.2 ช่องมองภาพแบบจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นช่องมองภาพที่สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างยิ่งสำหรับกล้องดิจิทัล เพราะสามารถมองผ่านทางจอ LCD แล้วจัดองค์ประกอบของ ภาพได้ และยังสามารถเลือกภาพที่ได้ถ่ายไปแล้วขึ้นมาดูได้ทันที หากไม่พอใจก็สามารถลบภาพออกได้ ทำให้ไม่เสียเวลาในการถ่ายและเลือกภาพที่ต้องการ จอ LCD จะมีขนาดและคุณภาแตกต่างกันตามราคา และยี่ห้อของกล้อง หากเป็นจอคุณภาพต่ำจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อมองจากด้านข้างหรือมองจากพื้นที่ ๆ มีแสงสว่างมาก ๆ ข้อจำกัดของจอ LCD คือสิ้นเปลือง พลังงาน ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในกล้องดิจิทัลเสื่อมเร็วเมื่อเปิดจอ LCD ไว้ตลอดเวลา ดังนั้น ควรปิดหน้าจอ LCD ไว้ขณะที่ไม่ได้ใช้งาน
3.2 ช่องมองภาพแบบจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นช่องมองภาพที่สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างยิ่งสำหรับกล้องดิจิทัล เพราะสามารถมองผ่านทางจอ LCD แล้วจัดองค์ประกอบของ ภาพได้ และยังสามารถเลือกภาพที่ได้ถ่ายไปแล้วขึ้นมาดูได้ทันที หากไม่พอใจก็สามารถลบภาพออกได้ ทำให้ไม่เสียเวลาในการถ่ายและเลือกภาพที่ต้องการ จอ LCD จะมีขนาดและคุณภาแตกต่างกันตามราคา และยี่ห้อของกล้อง หากเป็นจอคุณภาพต่ำจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อมองจากด้านข้างหรือมองจากพื้นที่ ๆ มีแสงสว่างมาก ๆ ข้อจำกัดของจอ LCD คือสิ้นเปลือง พลังงาน ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในกล้องดิจิทัลเสื่อมเร็วเมื่อเปิดจอ LCD ไว้ตลอดเวลา ดังนั้น ควรปิดหน้าจอ LCD ไว้ขณะที่ไม่ได้ใช้งาน
4. แบตเตอรี่ การทำงานของกล้องดิจิทัลต้องอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่หรือพลังงานจาหม้อแปลงไฟฟ้า แบตเตอรี่ที่ใช้กับกล้องดิจิทัลมีหลายประเภท ดังนี้
4.1 แบตเตอรี่แบบอัลคาไลน์ AA มีอายุการใช้งานไม่นานนัก เนื่องจากกล้องดิจิทัลส่วนใหญ่มีจอภาพ LCD ซึ่งใช้พลังงานสูง
4.2 แบตเตอรี่แบบ NiCD เป็นแบตเตอรี่ที่เก็บไฟได้น้อยและใช้งานได้ไม่นานนัก จึงไม่นิยมใช้แม้ว่าจะมีราคาถูก แต่สามารถชาร์จไฟและนำมากลับมาใช้ได้อีก แต่การชาร์จไฟนั้นจะต้องรอให้ใช้งานจนหมดก่อนจึงทำการชาร์จได้
4.3 แบตเตอรี่แบบ NiMH เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหนักเบา เก็บไฟได้นาน สามารสชาร์จได้ทันทีและบ่อยครั้งโดยไม่ต้องรอให้แบตเตอรี่ หมดก่อน คุณภาพดี ราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย
4.3 แบตเตอรี่แบบ NiMH เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหนักเบา เก็บไฟได้นาน สามารสชาร์จได้ทันทีและบ่อยครั้งโดยไม่ต้องรอให้แบตเตอรี่ หมดก่อน คุณภาพดี ราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย
4.4 แบตเตอรี่แบบ Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและราคาแพง เนื่องจากมีน้ำหนัก เบา เก็บกระแสไฟได้นานและมากกว่าแบตเตอรี่แบบ NiMH สามารถชาร์จไฟได้ทันทีที่ต้องการนิยมใช้กับกล้องที่มีราคาแพงและคุณภาพสูงนอกจากแบตเตอรี่แล้ว ที่ชาร์จแบตเตอรี่นับเป็นอุปกรณ์เสริมสำคัญต่อการใช้งานกล้องดิจิทัล ที่ชาร์จแบตเตอรี่มี 2 ชนิดคือ การชาร์จแบบเร็ว คือ ใช้เวลาชาร์จเพียง 2-3 ชั่วโมง แต่ประจุไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าไปจะไม่เต็มที่นัก การชาร์จแบบช้า ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยถนอมแบตเตอรี่มากกว่าและเกิดความร้อนน้อยกว่าแบบเร็ว
5. หน่วยความจำ เปรียบเทียบได้กับฟิล์มของกล้องถ่ายภาพธรรมดา หน่วยความจำทำหน้าที่ในการบันทึกภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดิจิทัลลงบนหน่วยความจำของตัวกล้องซึ่งมี 2 ประเภท ดังนี้
5.1 หน่วยความจำภายใน มีหน้าที่เก็บข้อมูลของภาพลงในตัวกล้อง เมื่อต้องการโอนถ่ายข้อมูลรูปภาพออกมาใช้งานต้องทำการต่อสายออกจากตัวกล้องผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ ที่ตัวกล้องใช้งานอยู่แล้ว ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
5.2 หน่วยความจำภายนอก ส่วนใหญ่กล้องดิจิทัลจะใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory ซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็ก หน่วยเก็บข้อมูลที่นิยมใช้อยู่ในกล้องนั้นจะมี Compact Flash และ SmartCard ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกันออกไปตามราคา โดยส่วนมากจะเก็บข้อมูลได้ต่ำที่สุด 16 เมกะไบต์
5. หน่วยความจำ เปรียบเทียบได้กับฟิล์มของกล้องถ่ายภาพธรรมดา หน่วยความจำทำหน้าที่ในการบันทึกภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดิจิทัลลงบนหน่วยความจำของตัวกล้องซึ่งมี 2 ประเภท ดังนี้
5.1 หน่วยความจำภายใน มีหน้าที่เก็บข้อมูลของภาพลงในตัวกล้อง เมื่อต้องการโอนถ่ายข้อมูลรูปภาพออกมาใช้งานต้องทำการต่อสายออกจากตัวกล้องผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ ที่ตัวกล้องใช้งานอยู่แล้ว ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
5.2 หน่วยความจำภายนอก ส่วนใหญ่กล้องดิจิทัลจะใช้หน่วยความจำประเภท Flash Memory ซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็ก หน่วยเก็บข้อมูลที่นิยมใช้อยู่ในกล้องนั้นจะมี Compact Flash และ SmartCard ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกันออกไปตามราคา โดยส่วนมากจะเก็บข้อมูลได้ต่ำที่สุด 16 เมกะไบต์
5.3 หน่วยความจำแบบอื่น ๆ จะใช้งานแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของกล้อง
6. ปุ่มควบคุมการทำงาน มีหน้าที่จัดการกับลักษณะของภาพถ่าย จะทำงานคู่กับเมนูการทำงานที่จะแสดงผลออกทางจอ LCD กับตัวกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานของปุ่มควบคุมการทำงานและเมนูควบคุม การทำงานที่ต่างกันออกไป กล้องราคาถูกแบบอัตโนมัติจะมีปุ่มควบคุมการทำงานไม่มากนัก แต่หากเป็นกล้องราคาแพงและประสิทธิภาพสูงจะมีปุ่มการทำงานมากและมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยึ่งขึ้น
USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความจุสูง และมีขนาดเล็กพกพาได้ง่ายจากคุณสมบัติในการใช้งานที่ง่ายต่อการเก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์และสะดวกในการพกติดตัว ทำให้อุปกรณ์ USB Flash Drive ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
รู้จักกับพอร์ต USB
6. ปุ่มควบคุมการทำงาน มีหน้าที่จัดการกับลักษณะของภาพถ่าย จะทำงานคู่กับเมนูการทำงานที่จะแสดงผลออกทางจอ LCD กับตัวกล้อง ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็จะมีการทำงานของปุ่มควบคุมการทำงานและเมนูควบคุม การทำงานที่ต่างกันออกไป กล้องราคาถูกแบบอัตโนมัติจะมีปุ่มควบคุมการทำงานไม่มากนัก แต่หากเป็นกล้องราคาแพงและประสิทธิภาพสูงจะมีปุ่มการทำงานมากและมีการทำงานที่ซับซ้อนมากยึ่งขึ้น
7. ชัตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเปิดและปิดหน้ากล้องในการรับแสงว่าจะเปิดให้แสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านได้นานเท่าใด โดยส่วนมากชัตเตอร์ของกล้องดิจิทัลจะสามารถ กดได้ 2 ระดับคือ การกดชัตเตอร์แล้วยกขึ้นทันที ซึ่งเป็นการหาตำแหน่งโฟกัสของภาพ และการกดชัตเตอร์ค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาทีเป็นการเปิดหน้ากล้องเพื่อทำการถ่ายภาพจริง ๆ
USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความจุสูง และมีขนาดเล็กพกพาได้ง่ายจากคุณสมบัติในการใช้งานที่ง่ายต่อการเก็บข้อมูลจากคอมพิวเตอร์และสะดวกในการพกติดตัว ทำให้อุปกรณ์ USB Flash Drive ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
รู้จักกับพอร์ต USB
USB หรือ Universal Serial Bus คือช่องทางเชื่อมต่อหรือพอร์ต (Port) ของอุปกรณ์ต่างๆที่จะพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์มีการส่งถ่ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สนับสนุนการเชื่อมต่อและถอดอุปกรณ์ออกโดยไม่ต้องปิด/เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ เรียกว่า “Hot Swapping
แล้ว USB Flash Drive หมายถึงอะไร?
USB Flash Drive ก็คืออุปกรณ์ที่สามารถบันทึกเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง โดยใช้พอร์ต USB เป็นช่องทางรับ/ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก บางยี่ห้อจึงใช้ชื่อทางการค้าว่า Handy Drive หรือ Thumb Drive ซึ่งมาจากลักษณะของอุปกรณ์ที่มีขนาดประมาณนิ้วโป้ง ใช้มือถือไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกนั่นเองในการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพียงแค่นำอุปกรณ์เสียบผ่านทางพอร์ต USB เท่านี้คุณก็จะเห็นไดร์วของอุปกรณ์ปรากฏเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้อ่าน/เก็บบันทึกข้อมูลได้ และเมื่อต้องการจะเลิกใช้ก็เพียงแค่คลิกเลือก Safely Remove Hardware แล้วดึงอุปกรณ์ออกมาก็เป็นอันเสร็จ
USB Flash Drive จะสามารถใช้งานกับ Windows ME, 2000, XP, 2003 หรือรุ่นใหม่กว่าได้อย่างไม่มีปัญหา แต่กับ Windows 98 จำเป็นต้องติดตั้งชุดข้อมูลของอุปกรณ์หรือไดรเวอร์ (driver) เพื่อให้ Windows รู้จักอุปกรณ์นั้นก่อนจึงจะใช้งานได้
ขั้นตอนการใช้งาน USB Flash Drive
ขั้นตอนการใช้งาน USB Flash Drive
1.เสียบอุปกรณ์ USB Flash Drive ใส่ในช่อง USB
Port
2.สังเกตตรง Task Bar (ด้านมุมขวาล่างของหน้าจอ) จะมีไอคอน Safely Remove Hardware (หรือ Unplug or Eject Hardware ใน Windows
ME) ปรากฏ
3.เมื่อเปิดหน้าต่าง My
Computer หรือ Windows Explorer จะปรากฏไดร์ว Removable
เพิ่มขึ้นมาให้ใช้งาน
4.หลังจากใช้งานเสร็จให้ทำการยกเลิกการใช้งาน
โดยคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายที่ไอคอน Safely Remove Hardware ตรง Task
Bar 1 ครั้ง จะมีเมนูขึ้นมา ให้เลือกคำสั่ง Safely remove
USB Mass Storage Device ของ USB Flash Drive ที่ต้องการเลิกใช้งาน
5.จะมีกล่องข้อความขึ้นมาบอกว่าตอนนี้สามารถถอดอุปกรณ์
USB Flash Drive ออกได้อย่างปลอดภัยแล้ว จึงค่อยถอดอุปกรณ์ออก
ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ
Flash Drive เป็นอุปกรณ์ IT
นวัตกรรมเทคโนโลยีล่าสุด ทีมีความสามารถสูง
และนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย โดยเฉพาะสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำในการทำงาน
ในกรติดตามหาข้อมุลข่าวสาร หรือเพื่อความบันเทิง เก็บข้อมูลการติดต่อ เช่อ
เบอร์โทรศัพท์ หรือ Addressbook เพื่อความสะดวกในการใช้งานทุกที่ใช้เก็บข้อมูลที่ดาวน์โหลด,ไฟล์งาน หรือโน๊ตข้อความ เวลาคุณใช้คอมพิวเตอร์ที่ Internet Cafe ย้ายข้อมูลหรือไฟล์ ได้อย่างสะดวกง่ายดาย ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2
เครื่อง หรือระหว่าง คอมพิวเตอร์กับ โน็ตบุ๊ค
1. ใช้เก็บรูปภาพจากกล้องดิจิตอล
เพื่อนำไปโชว์เพื่อนๆ
2. ฟังเพลง MP3 ได้โดยตรงทุกที่ทุกเวลา
(เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)
3.ใช้เป็นฮาร์ดดิสส่วนตัว เก็บข้อมูลทุกอย่างในที่เดียว
สำหรับพกพาไปใช้งานในที่ต่างๆ
4.เก็บข้อมูลสำคัญๆ แล้วป้องกันข้อมูลด้วยระบบ Password และการเข้ารหัสข้อมูล DATA
Encryption
5.ใช้แบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ หรือไฟล์ต่างๆ
6.ใช้เก็บข้อความ E-mail ต่างๆ ที่สำคัญ
7.ใช้เก็บไฟล์งานชั่วคราว สำหรับเอาไว้ใช้งานหรือแก้ไขได้ทุกที่
(ที่บ้าน, ที่ทำงาน,ร้านอินเตอร์เน็ต)
8. เพิ่มคุณสมบัติ และการใช้งานด้วย add-on Software เช่น โปรแกรม E-mail,
โปรแกรมแบ่ง
9. Partition,
Digital Lock โดยใช้งาน Flash Drive ได้โดยตรง
ซี่งทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานได้ไม่จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น